โพรไบโอติกคือ อะไร ? ตัวช่วยปรับสมดุลลำไส้ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

โพรไบโอติกคือ อะไร ? ตัวช่วยปรับสมดุลลำไส้ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

โพรไบโอติกคือ อะไร ? ตัวช่วยปรับสมดุลลำไส้ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

เรื่องมหัศจรรย์ที่สุดในโลกคือ ร่างกายของเรานี่แหละ เพราะว่ามีระบบต่าง ๆ มากมายที่สุดแสนจะน่าสนใจ ระบบหายใจ ระบบสมอง ซึ่งการทำงานร่วมกันที่สอดคล้องนี้ทำให้การศึกษาร่างกายถือได้ว่าเรื่องที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดโลก รวมไปถึงในปัจจุบันนี้ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องการกินอาหารมากขึ้น เพราะต้องการสิ่งที่ดี มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี มีความมั่นใจ ชีวิตมีความสุข สำหรับวันนี้จะขอแนะนำ จุลินทรีย์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในร่างกายเรา มีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย ในระบบทางเดินอาหาร นั่นก็คือ โพรไบโอติก นั่นเอง โดยพวกเราได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จะทำให้คุณได้รู้จักว่า โพรไบโอติกคือ อะไร จุลินทรีย์นี้มีประโยชน์อย่างไร รวมไปถึงประโยชน์ที่จะช่วยเรื่องใดบ้างในร่างกาย และที่สำคัญแหล่งอาหารที่มีโพรไบโอติกสูงด้วย ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไร คนที่รักในสุขภาพไม่ควรพลาดในบทความนี้  


โพรไบโอติกคือ อะไร

โพรไบโอติกคือ อะไร

โพรไบโอติกคือ จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จะอาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์ โดยเฉพาะในส่วนระบบทางเดินอาหาร รวมไปถึงระบบอื่นของร่างกายด้วย เรียกได้ว่า “โพรไบโอติก” นั้น เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เนื่องจากมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร พร้อมทั้งจะช่วยดูดซึมอาหาร ป้องกันโรคต่าง ๆ อีกทั้งการสังเคราะห์วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น ไม่ให้ป่วยง่าย นับได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ร่างกายจะขาดไปไม่ได้ 

 

ส่วนใหญ่แล้ว เราจะพบ โพรไบโอติก ในได้ในระบบทางเดินอาหารของร่างกาย เพราะในจุดนี้จะทนทานต่อกรดกับด่าง เมื่อไปอยู่ที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้ ซึ่งจะสามารถผลิตสารต่อต้าน หรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ได้ต่อร่างกาย โดยจะทำให้ลำไส้แข็งแรงมากขึ้น 

 

นอกจากจะพบที่ระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังสามารถพบ โพรไบโอติก ได้ในส่วนอื่นของร่างกายด้วย ตัวอย่างเช่น ภายในช่องปาก ระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง มดลูก และทางเดินปัสสาวะด้วย ซึ่งแน่นอนว่าจุลินทรีย์ชนิดดีประเภทนี้ จะส่งผลดีต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างสมดุลด้วย 


ประเภทของ “โพรไบโอติก” 

สำหรับคำว่า “โพรไบโอติก” นั้นไม่ได้มีเพียงชนิดเดียว แต่ทว่ามีอยู่หลายประเภทด้วยกัน แต่ละประเภทนั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นจุลินทรีย์ที่ส่งผลดีต่อร่างกาย พร้อมทั้งเป็นชื่อเราคุ้นเคย อาจจะเคยได้ยินกันด้วย โดยมีทั้งหมด 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ 

 

1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)

สำหรับจุลินทรีย์ชนิดนี้รู้จักกันดีแน่นอน เพราะว่าเคยได้ยินบ่อย ๆ อีกทั้งยังเป็นตัวที่พบมากที่สุดในกลุ่มของไพรโบโอติก เป็นแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้ มีประโยชน์มากต่อระบบขับถ่าย เพราะเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้ ส่วนอาหารที่พบแลคโตบาซิลลัสนั้น จะพบใน อาหารหมักดอง โยเกิร์ต นมเปรี้ยว นั่นเอง 

 

2. แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces Boulardii)

สำหรับตัว แซคคาโรไมซิส จะพบในกลุ่ม โพรไบโอติก เช่นเดียวกัน โดยจะเป็นชนิดที่ไม่มีอยู่ร่างกายของคนเราตามธรรมชาติ แต่ แซคคาโรไมซิส จะช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นด้านทางเดินอาหาร 

 

3. บิฟิโดแบคทีเรียม  (Bifidobacterium)

สำหรับประเภท บิฟีโดแบคทีเรียม จะเป็นหนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติก ที่ถูกขนานนามว่าดีที่สุด เพราะว่าจะมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน ด้วยผลจากงานวิจัยนั้นจะพบว่า ไพรโบโอติก ชนิดนี้ ช่วยผลิตสารตั้งต้นของภูมิต้านทานในร่างกายได้ โดยจะพบในอาหารประเภท นม 

 

4. จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ประเภทอื่น

ยังมีจุลินทรีย์อื่น ๆ ที่ใช้ในการแพทย์อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น 

  • Enterogermina – Bacillus clausii
  • Bacillus subtilis
  • Longum
  • B. Breve
  • B.infantis
  • Streptococcus thermophilus

 

จะเห็นได้ว่าทั้ง 4 กลุ่มของ ไพรโบโอติกนั้น จะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก การทำงานก็ยังมีระบบคล้ายกัน แต่ทว่าหน้าที่ต่าง ๆ นั้นจะไม่ส่งผลร้ายต่อร่างกาย แต่กลับเป็นหน้าที่สำคัญในร่างกายที่ช่วยทำให้ระบบขับถ่าย ระบบทางเดินอาหาร สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมชาตินั่นเอง


ไพรโบโอติก ต้องเสริม เพราะเหตุใด 

ไพรโบโอติก ต้องเสริม เพราะเหตุใด

ในร่างกายของเราเมื่อได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานานนั้น จะส่งผลให้จุลินทรีย์ร่างกายมีจำนวนที่ลดลง เมื่อร่างกายของมีการรับเชื้ออื่น ก็อาจจะส่งเป็นที่ทำให้เกิดโรค หรือ อาการเจ็บป่วย อีกทั้งมีโอกาสสูญเสียจุลินทรีย์ชนิดที่ดีในร่างกายได้  เพราะไพรโบโอติก จัดได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เป็นเจ้าถิ่นในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นแล้วร่างกายก็จะต้องรักษาสมดุลนี้เอาไว้ให้เป็นปกติ ไม่ให้จุลินทรีย์ในลำไส้นั้นถูกรุกราน เพราะอาจจะเกิดผลกระทบต่อร่างกายได้ 

 

ดังนั้น การสร้างภาวะสมดุลของลำไส้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จะต้องมีการรับประทาน โพรไบโอติกเสริมเข้าไป จึงเป็นอีกช่องทางที่จะเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีเข้าสู่ร่างกาย แล้วยังรักษาสมดุลของแบคทีเรียชนิดดีในร่างกายได้อีกด้วย ซึ่งแน่นอนเลยว่าจะส่งผลให้ร่างกายนั้นสุขภาพดี 


ประโยชน์ของโพรไบโอติก ตัวช่วยสุขภาพดี

จุลินทรีย์ชนิดดีต่อร่างกายอย่าง โพรไบโอติก เป็นส่วนช่วยสำคัญให้ร่างกายในระบบที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบทางเดินอาหาร ที่เป็นสำคัญได้ทำงานอย่างถูกต้อง รวมไปถึงการรักษาสมดุลที่ทำให้สุขภาพดี ดังนั้นประโยชน์ของโพรไบโอติกจะมีด้วยกันทั้งหมด 6 ข้อ ดังนี้

 

1. ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย

เรื่องนี้คือสิ่งที่ ไพรโบโอติก ทำได้อย่างโดดเด่น เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถป้องกัน รวมทั้งบรรเทาได้ทั้งอาการท้องเสียกับท้องผูก อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยในการสร้างสมดุลให้กับระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงระบบขับถ่ายของร่างกายด้วย ที่สำคัญในกลุ่มแลคโตบาซิลลัส จะช่วยลดอาการอักเสบของลำไส้อีกด้วย ดังนั้นแล้วความโดดเด่นของพวกเขาจะช่วยให้ระบบทางเดินอาหารที่ผิดปกติ สามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ 

2. ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน 

ภูมิคุ้มกันในร่างกาย จัดได้ว่าเป็นเกราะส่วนหน้าที่ทำให้ไม่เจ็บป่วยง่าย ดังนั้น ไพรโบโอติก จะสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ เพราะการที่มีจุลินทรีย์ชนิดนี้ในระบบทางเดินอาหารที่เพียงพอ จะเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายได้มากขึ้น ติดเชื้อร้ายยากขึ้น ตัวอย่างเช่น การลดการติดเชื้อในบริเวณปิด รวมทั้งการเพิ่มภูมิคุ้มกันในลำไส้ และกระแสเลือด 

3. รักษาโรคกระเพาะโดยตรง

สำหรับโพรไบโอติกจะสามารถป้องกัน รวมทั้งบรรเทาโรคในระบบทางเดินอาหารอย่างโรคกระเพาะได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงโรคกรดไหลย้อนด้วย ดังนั้นแล้วถ้าคุณมีโพรโบโอติกในร่างกายมากเขาจะทำการรักษาตัวเองได้ 

4. ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับโพรไบโอติก จะมีจุดเด่นคือปกป้องลำไส้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในลำไส้ แน่นอนเลยว่าโอกาสที่จะเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นมีน้อยมาก เพราะสารก่อมะเร็งในลำไส้ อาจจะรวมตัวแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ แต่ถ้ามีโพรไบโอติกในลำไส้จะเข้าไปฆ่าแบคทีเรีย ก็มีโอกาสที่จะทำลายสารก่อมะเร็งได้นั่นเอง 

5. ลดอาการภูมิแพ้ รวมทั้งการอักเสบ

การที่ตัวเรามีโพรไบโอติกในร่างกายอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี เพราะว่าจุลินทรีย์ชนิดนี้จะเข้าไปปรับสภาพภูมิคุ้มกันในร่างกาย ลดอาการอักเสบ ทำให้ปัญหาภูมิแพ้ ผื่นคัน หรือหอบหืด อาการเรื้อรังต่าง ๆ ของภูมิแพ้ลดลง 

6. ช่วยในระบบทางเดินปัสสาวะ

โดยแบคทีเรียอย่างแลคโตบาซิลลัส จะช่วยลดการอักเสบติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนปลาย ซึ่งการช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย ที่ก่อให้เกิดโรคปัสสาวะอักเสบได้ อีกทั้งปัญหาการติดเชื้อในช่องคลอดของผู้หญิง ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ 


โพรไบโอติกช่วยบรรเทาโรคใดได้บ้าง

จากที่ได้เห็นประโยชน์ของ โพรไบโอติก แล้วนั้น ยิ่งทำให้รู้เลยว่า จุลินทรีย์ชนิดนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลดีกับระบบทางเดินอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ทว่า สามารถส่งผลดีไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทางเดินปัสสาวะ ลดการอักเสบ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งจุลินทรีย์ตัวดีที่ต้องอยู่ในร่างกายให้สมดุล ดังนั้นจึงทำให้โพรไบโอติกสามารถบรรเทาโรคภัยต่าง ๆ ได้มากมายดังนี้ 

 

  • โรคท้องผูก และท้องเสีย
  • การติดเชื้อราในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ภาวะอ้วน
  • โรคภูมิแพ้ 
  • โรคผิวหนังอักเสบ
  • โรคตับ
  • ภาวะไขมันพอกตับ
  • โรคโคลิคในเด็ก
  • โรคเชื้อราในช่องคลอด

ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบัน ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 ที่มีภาวะ Long Covid นั้น ก็สามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วย ด้วยการใช้ ไพรโบโอติก ได้เช่นกัน เพราะผู้ที่หายจากโรคนี้แล้ว จะมีจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ผิดปกติ ส่งผลให้มีอาการในระบบทางเดินอาหาร การเพิ่ม โพรไบโอติกนั้นจะช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ได้ พร้อมทั้งช่วยให้กลับมาทำงานได้ปกติ ซึ่งทางแพทย์จึงแนะนำว่าผู้ที่มีอาการ “ลองโควิด” หรือหายจากการป่วย ควรรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง รวมกับการทานยารักษาโควิดไปในตัวด้วย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น บทความที่น่าสนใจ โรคขี้เต็มท้องอาการเป็นอย่างไร ?


แนะนำอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง

โพรไบโอติกคือ

เมื่อร่างกายขาดจุลินทรีย์อย่างโพรไบโอติกไปแล้วนั้น อาจจะทำให้ระบบทางเดินอาหาร หรือ ระบบขับถ่ายแย่ลง รวมไปถึงภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ตกลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแล้วพวกเราจึงขอแนะนำอาหารที่มีโพรไบโอติก สูง เพิ่มเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีต่อร่างกายนี้ไปปกป้อง พร้อมทั้งทำให้ร่างกายทำงานได้สมดุล มีภูมิต้านทานที่มากขึ้น โดยมีอาหารแนะนำ 9 อย่างดังต่อไปนี้

 

1. โยเกิร์ต 

สำหรับโยเกิร์ต จะเป็นอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง ทานง่าย มีรสชาติให้เลือกหลากหลาย โดยเลือกโยเกิร์ตที่มีฉลากชัดเจนว่า มีโพรไบโอติก ตัวอย่างเช่น Active Probiotic หรือ Live Probiotic อีกทั้งควรเลือกโพรไบโอติกในสายพันธุ์ที่มีประโยชน์กับร่างกาย นั่นก็คือ Lactobacillus casei, Lactobacillus acidophilus และ Bifidobacterium

 

2. นมเปรี้ยว

นมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ตพร้อมดื่ม จะทานแบบไหนก็ได้ เพราะว่านมเปรี้ยวนั้น จะผ่านการหมักจนเกิดโพรไบโอติกขึ้นในตัวของนม ซึ่งในการเลือกรับประทานนมเปรี่ยวนั้น ก็ควรที่จะเลือกสายพันธุ์เดียวกันกับโยเกิร์ต เพราะเป็นจุลินทรีย์ที่จะช่วยเรื่องระบบทางเดินอาหาร มีการสร้างภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้นควรเลือกนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกที่ยังมีชีวิต ตัวอย่างเช่น นมเปรี้ยวที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์มาแล้ว

 

3. อาหารหมักดอง

การหมักดองอาหาร เพื่อให้เกิดการถนอมอาหาร มีประโยชน์ตรงที่สามารทานอาหารชนิดนั้นได้นานขึ้น แต่การนำไปหมักจะก่อให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์อย่างโพรไบโอติกขึ้น เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะส่งผลดีต่อร่างกาย สามารถไปกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาว ให้ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งช่วยสร้างภูมิต้านทานชนิด IgA

 

4. ดาร์กช็อกโกแลต 

อาหารอย่าง ดาร์กช็อกโกแลตนั้น จะช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี เพราะว่าในดาร์กช็อกโกแลตนั้น จะมีโพรไบโอติกสายพันธุ์แลคโตบาสิลัส รวมทั้งไบฟิโดแบคทีเรียมด้วย ดังนั้นแล้วใครที่ทานเข้าไป จะมีสัดส่วนจุลินทรีย์ในกลุ่มคลอสทริเดียม รวมทั้งสแตปฟิโลคอคคัส ลดน้อยลงกว่าผู้ที่ไม่ทานเลย โดยจุลินทรีย์เหล่านี้จะเป็นต้นเหตุของอาการท้องร่วงเฉียบพลัน และท้องเสียได้ 

 

5. น้ำส้มสายชูหมัก จากแอปเปิล 

สำหรับน้ำส้มสายชูหมักนั้น สามารถทำได้จากผลไม้แทบทุกชนิดที่มีรสหวาน แต่ที่นิยมก็คือ แอปเปิล เพราะเมื่อหมักผลไม้เอาไว้ น้ำกับจุลินทรีย์จะเข้ากันได้ดี ทำให้น้ำส้มสายชู จะมีสภาพเป็นกรดน้ำส้ม รวมทั้งยังเกิดจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ดังนั้นน้ำสมสายชูที่หมักธรรมชาติจะดีกว่ามาก 

 

6. ชีส บางประเภท

สำหรับชีสนั้นก็จะมีประเภทที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติก ซึ่งชีสแต่ละประเภทนั้น จะต้องมีการระบุเอาไว้ด้วยว่า Live Cultures หรือ Active Cultures ซึ่งได้แก่ มอสซาเรลล่าชีส, เชดด้าชีส, คอทเทจ รวมทั้งเกาด้า เป็นต้น 

 

7. ถั่วนัตโตะ หรือถั่วหมัก

อาหารพื้นเมืองจากประเทศญี่ปุ่นอย่าง ถั่วหมัก หรือ ถั่วนัตโตะ ซึ่งเกิดจากการนำถั่วไปหมักดอง จนเกิดเส้นใยเหนียว ยืดได้ มีกลิ่น ซึ่งนี่แหละเป็นแหล่งที่ดีของโพรไบโอติกเลยทีเดียว ดังนั้นแล้วผู้ที่กินนัตโตะอยู่เสมอ จะช่วยป้องกันโรคหัวใจ รวมทั้งโรคกระดูกพรุนได้ด้วยเช่นกัน 

 

8. ซุปมิโซะ 

สำหรับซุปมิโซะ จะมีเครื่องปรุงที่นำมาปรุงรสนั่นก็คือ น้ำสต็อกดาชิและเต้าเจี้ยวมิโซะ โดยนำมาจากถั่วเหลืองหมักกับเชื้อราชนิดดี จึงทำให้มีโพรไบโอติกสูง เป็นจุลินทรีย์ชนิดที่ดี รับประทานง่าย คล่องคอ นี่จะคืออาหารชั้นเลิศที่มีโพรไบโอติกสูง 

 

9. เทมเป้

โดย เทมเป้ เป็นอาหารที่มาจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเกิดจากการหมักถั่วเหลืองจนกลายเป็นแท่งคล้ายกับเค้ก พร้อมกับหมักด้วยเชื้อรา Rhizopus Oligosporus เชื้อราสายพันธุ์ดี จนได้เป็นโพรไบโอติก ออกมา มีโปรตีนสูง ช่วยบำรุงประสาท สมอง เป็นอีกหนึ่งอาหารที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยในการเสริมโพรไบโอติกเข้าสู่ร่างกาย  

 

จะเห็นได้ว่าอาหารแต่ละชนิดนั้น ล้วนแล้วแต่มีการหมักดองเกิดขึ้น เพราะการหมักที่ดีทำให้เกิด โพรไบโอติกแบบมีชีวิต รวมไปถึงการรับประทานง่าย โดยเฉพาะ นมเปรี้ยว หรือ โยเกิร์ต จะเป็นแหล่งอาหารที่ประโยชน์สำคัญ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี รวมทั้งมีสูตรแบบแคลอรี่ต่ำ น้ำตาลน้อย แต่สำหรับใครที่ไม่ชอบก็หันไปทานนมเปรี้ยวได้ เพราะเมื่อภายในร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงแล้วนั้น ภายนอกก็จะแข็งแรงตามไปด้วย 


ข้อควรรู้ เกี่ยวกับอาหารที่มีโพรไบโอติก 

สำหรับ โพรไบโอติก จะพบเจอได้ในอาหารที่กล่าวมาข้างต้นไปแล้ว เช่น ของหมักดอก นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ซึ่งร่างกายของเราจะยังสามารถสูญเสียจุลินทรีย์ชนิดนี้ไปตามธรรรมชาติ กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราด้วย ตัวอย่างเช่น การรับประทานอาหารที่ไขมันสูง หรือน้ำตาลสูง รวมทั้งความเครียดจากการทำงาน ดังนั้นแล้วในทุกวันเราจำเป็นมากที่จะต้องเสริมโพรไบโอติกให้ร่างกาย เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ทำงานอย่างสมดุล รวมถึงช่วยป้องกัน การเกิดโรคริดสีดวง 


การกิน โพรไบโอติก ให้ปลอดภัย

สำหรับการกินโพรไบโอติกนั้น ควรจะทานก่อนอาหาร หรือระหว่างมื้อ เนื่องจากโพรไบโอติก จะถูกทำลายได้ด้วยน้ำย่อย หรือ ยาบางชนิด ดังนั้นแล้วช่วงก่อนทานอาหาร กระเพาะจะมีความเป็นกรดต่ำ ทำให้จุลินทรีย์ชนิดนี้อาจจะถูกทำลายได้น้อยลงนั่นเอง 

 

ดังนั้นแล้วควรที่จะกินโพรไบโอติกต่อวันคือ ตั้งแต่ 10-20 พันล้านตัวต่อวัน หรือ อย่างต่ำ 10,000 ล้าน CFU ซึ่งเป็นจำนวนที่พอดีต่อร่างกายในแต่ละวัน ถ้าหากว่าเราทานโพรไบโอติกเข้าไปเกินความจำเป็น จะเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ นั่นก็คือ เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร หรือเกิดผื่นคันตามผิวหนัง เกิดอาการปวดหัว รวมทั้งอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อด้วย ควรทานแต่พอดี เพราะอะไรที่มากเกินไปก็จะส่งผลเสียได้เช่นเดียวกัน 


อาหารเสริมโพรไบโอติก

ในปัจจุบันอาหารเสริมอย่างโพรไบโอติกนั้นมีมากมายเลยทีเดียว เพราะนอกจากอาหารที่พบโดยธรรมชาติแล้ว ยังมีโพรไบโอติกแบบอาหารเสริม ซึ่งจะพิจารณาการเลือกซื้อได้ดังต่อไปนี้ 

 

  • เลือกจากวิธีรับประทานอาหาร ตัวอย่างเช่น แบบเม็ด แบบเยลลี่ แบบแคปซูล ทานง่าย หรือ แบบผง
  • ให้เลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีการจดทะเบียน อย.
  • ให้เลือกทานจุลินทรีย์ที่ถูกชนิดต่อร่างกาย เช่น แลคโตบาซิลัส เพราะจะกระตุ้นในเรื่องของการขับถ่าย
  • ให้เลือกทานผลิตภัณฑ์ที่มีเชื้อจุลินทรีย์ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้าน CFU ต่อซอง 
  • ทานโพรไบโอติก กับน้ำเย็น หรืออุณหภูมิห้อง จะช่วยได้ดีมากขึ้น 
  • ตรวจสอบวัดหมดอายุก่อนรับประทาน

 

สำหรับจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มีชีวิตนี้ มหัศจรรย์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ รวมทั้งระบบการขับถ่ายด้วย นอกจากจะทำให้ร่างกายกลับสู่ภาวะสมดุลแล้ว ยังส่งผลให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันเซลล์มะเร็ง หรือต้นเหตุที่จะเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้อีกมากมาย มาทำรู้จักกับ ไฟเบอร์ อีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีต่อสุขภาพ

 

ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ได้มีผลิตภัณฑ์อย่างอาหารเสริม โพรไบโอติก เกิดขึ้นมากมาย สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทานอาหารที่มีจุลินทรีย์ชนิดนี้ ก็สามารถเลือกทานอาหารเสริมได้เช่นเดียวกัน นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแบคทีเรียชนิดดี ที่คอยดูแลสุขภาพของเรา คอยดูแลเรื่องระบบลำไส้ให้สมดุล นี่แหละคือ โพรไบโอติก เจ้าตัวเล็กที่ร่างกายขาดไปไม่ได้ สุดท้ายนี้ใครที่กำลังรู้สึกว่าไม่สบายท้อง หรือ มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร อาจจะมีจำนวนจุลินทรีย์ชนิดนี้ไม่สมดุล อย่าลืมหันมาดูแลสุขภาพด้วยการเสริมโพรไปโอติกเข้าสู่ร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน ห่างไกลโรค


อ้างอิง