โรคความดันโลหิต จุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพร้ายแรง

โรคความดันโลหิต จุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพร้ายแรง

เรื่องสำคัญสำหรับวัยทำงานอย่างเรา ก็ต้องเน้นไปที่การประสบความสำเร็จในชีวิต เงินทอง รวมไปถึงชื่อเสียงที่ต้องแลกมาด้วยความสามารถ แต่สำหรับบางคนอาจจะลืมไปว่า สุขภาพร่างกาย ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน ที่จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้ดั่งคนปกติ แน่นอนเลยว่าการดูแลสุขภาพ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำควบคู่ไปกับการทำงานด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่เข้าสู่วัยทอง หรือ เริ่มมีอาการเจ็บป่วยแปลก ๆ แบบไม่มีสาเหตุ จึงจำเป็นมากเลยที่จะต้องตรวจสุขภาพทุกปี หรือทุก 6 เดือน สำหรับวันนี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคสำคัญที่คุณเองควรรู้จักนั่นก็คือ “ โรคความดันโลหิต ” นั่นเอง แน่นอนเลยว่าในบทความนี้จะมีทั้งสาเหตุ อาการของโรค วิธีการรับมือ พร้อมทั้งวิธีการดูแลอย่างถูกจุด ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดจะทำให้คุณเข้าใจในโรคนี้มากขึ้น ถ้าหากว่าใครยังไม่ได้ไปตรวจสุขภาพ หรือ ยังคิดลังเล ลองอ่านรายละเอียดนี้ดู แล้วคุณจะเข้าใจว่าทำไมโรคนี้ถึงสำคัญกับการใช้ชีวิต 


โรคความดันโลหิต เกิดจากอะไร

โรคความดันโลหิต เกิดจากอะไร

อีกหนึ่งโรคที่สำคัญกับการใช้ชีวิต นั่นก็คือ โรคความดันโลหิตสูง โดยโรคนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับความดันของเลือด ซึ่ง ค่าความดันภายในหลอดเลือดแดง เกิดจากการบีบตัวของหัวใจ ส่งผ่านหลอดเลือด โดยจะนำเอาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเจ้าค่าความดันชนิดนี้จะมี 2 ค่า ในกรณีที่วัดออกมาได้ นั่นก็คือ 

 

  • ค่าความดันตัวบน เป็นค่าความดันในขณะที่หัวใจบีบตัว 
  • ค่าความดันตัวล่าง จะเป็นค่าความดันขณะที่หัวใจคลายตัว 

ซึ่งแน่นอนเลยว่า ค่าความดันทั้ง 2 แบบนี้ มีความสำคัญต่อสุขภาพ ยิ่งถ้าหากว่าขาดการสมดุล ก็จะสามารถเรียกได้ว่าเป็นทั้งโรค ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำนั่นเอง โดยสิ่งที่น่ากลัวสำหรับโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยเกินกว่าครึ่งจะไม่มีอาการใด ๆ ที่เป็นสัญญาณเตือน เปรียบดั่งเหมือนกับภัยเงียบ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาแล้ว 

 

โดยภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจหนา ภาวะไตวายเรื้อรัง ภาวะหัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบ หรือ แตกเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ท้ายที่สุดถึงขั้นเสียชีวิตได้นั่นเอง โดยโรคจากความดันโลหิตก็ยังมีความดันโลหิตต่ำอีกหนึ่งภาวะที่เกี่ยวข้องกัน แต่สำหรับวันนี้จะต้องขอพูดถึงโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงกันก่อน 


โรความดันโลหิตสูงกับสาเหตุ 2 ประเภท

สำหรับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น ร้อยละ 90 จะไม่มีสาเหตุ จะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีสาเหตุ ตัวอย่างเช่น โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด โรคไต หรือโรคของหลอดเลือดบางประเภท ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้ อีกทั้งปัจจัยที่ส่งเสริมให้ความดันโลหิตสูงมากมาย ตัวอย่างเช่น อายุ พันธุกรรม เชื้อชาติ ภาวะน้ำหนักเกินตัว หรือผู้ป่วยโรคอ้วน อีกทั้งการรับประทานอาหารที่เค็มจัด ทั้งหมดนี่ก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายก่อโรคนี้ขึ้นมา โดยความดันโลหิตสูงจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท นั่นก็คือ 

 

  • ความดันโลหิตสูงชนิด Primary Hypertension ซึ่งจะเป็นกันส่วนใหญ่ จะมีการพัฒนาขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 
  • ความดันโลหิตสูงชนิด Secondary Hypertension สำหรับประเภทนี้จะเกิดจาก สภาวะสุขภาพพื้นฐาน ที่จะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน อาจจะมีได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขทางสุขภาพ หรือยาที่รับประทานด้วย 

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ชนิด Primary Hypertension

สำหรับโรคความดันโลหิตสูงในชนิด Primary Hypertension นั้น จะเกี่ยวข้องกับทั้งหมดที่มี เช่น อายุ ซึ่งเมื่อมากขึ้นโอกาสก็จะยิ่งมากขึ้นเช่นกัน รวมทั้ง เชื้อชาติ สำหรับ ชาวแอฟริกัน หรือ อเมริกัน มักจะเกิดโรคนี้อยู่บ่อย ๆ พร้อมทั้งมีภาวะแทรกซ้อนที่ค่อนข้างรุนแรงด้วย ในส่วนสาเหตุอื่นก็มีข้อเกี่ยวเนื้อกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน การใช้ชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ อาหารที่มีเกลือสูง รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก พร้อมทั้งมีภาวะความเครียด หรือโรคเรื้อรังอื่นแทรกซ้อน และสุดท้ายก็คือ การตั้งครรภ์ก็สามารถเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน ส่วนปัจจัยที่สำคัญคือช่วงอายุสำหรับโรคนี้จะพบในผู้ใหญ่มากกว่า แต่ในเด็กก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน

 

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ชนิด Secondary Hypertension 

ต้องขอขยายสาเหตุของประเภทที่ 2 ของโรคความดันโลหิตสูงกันสักเล็กน้อย เพราะว่ามีหลากหลายสาเหตุให้พูดถึงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จากการอุดกั้น โรคต่อมไทรอยด์ ความผิดปกติของหลอดเลือด หรือในกลุ่มคนที่ใช้ยาบางชนิด ตัวอย่างเช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคไข้หวัด ยาแก้ปวด รวมทั้ง ยาลดความอ้วนที่เราเห็นกันได้บ่อย ๆ ที่สำคัญในหมู่คนที่ติดยาเสพติดก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูงชนิดนี้เป็นพิเศษด้วย 


ค่าดีของความดันโลหิต 

จากคำอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุข้างต้น ค่อนข้างชัดเจนเลยว่า โรคนี้ตัวเราเองจะต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งมีการปรับปรุงการใช้ชีวิตประจำวันจะดีมาก ขอเสริมอีกเล็กน้อยในหัวข้อ ความดันโลหิต ความจะมีค่าที่ไม่ควรต่ำกว่า 150/90  มิลลิเมตรปรอท สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ส่วนผู้ที่มีอายุน้อยกว่านั้น ควรตํ่ากว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งจะต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อเช็กร่างกายอยู่เสมอ 


ความดันโลหิตสูง เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง 

สำหรับโรคความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงเป็นอย่างมากที่จะเกิดโรคร้ายแรงมากมาย พร้อมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น อาจจะทำให้มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ในบางรายมีภาวะแทรกซ้อนที่ค่อนข้างอันตราย เพราะอาจจะถึงแก่ชีวิตได้เช่นเดียวกัน สำหรับ ความดันโลหิตสูง จะเสี่ยงเป็นโรคดังต่อไปนี้ 

  • หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง 
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง 
  • หัวใจล้มเหลว 
  • หลอดเลือดในไตแคบลง 
  • หลอดเลือดในดวงตาหนาหรือแคบ 
  • โรคเมตาบอลิก หรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงาน 
  • ปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือความเข้าใจ 
  • โรคสมองเสื่อม

อันตรายของโรคความดันโลหิตสูง 

ความน่ากลัวของโรคความดันโลหิตสูง นอกจากโรคร้ายแรงดังที่กล่าวมาแล้ว ในภาวะแบบนี้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของหัวใจที่หนักเกินไป ซึ่งถ้าหากว่าไม่ได้รักษาอย่างถูกวิธี ก็อาจจะทำให้หัวใจโต หรือหัวใจวายได้ ซึ่งนั่นหมายถึงอาจจะเสียชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน โดยส่วนใหญ่แล้วบางรายก็อาจจะเกิดอาการปวดศีรษะ หรือเลือดกำเดาไหล ซึ่งเป็นอาการที่เบาที่สุด แต่โรคเรื้อรังมากมายอย่าง โรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมทั้งโรคไขมันในเลือดสูง ที่คุณเองจะต้องทำการรักษา วางแผนกันรักษากันในระยะยาว ซึ่งแน่นอนเลยว่ามาถึงขั้นนี้จะค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายที่มากพอสมควร 


โรคความดันโลหิต มีอาการอย่างไร 

โรคความดันโลหิต มีอาการอย่างไร

สำหรับโรคความดันโลหิตสูง จะมีด้วยกันหลากหลายอาการ แค่ทว่าโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักจะไม่แสดงอาการใด ๆ ที่รุนแรง แต่ก็จะมีอาการปวดมึนท้ายทอยบ้าง หรือตึงที่ต้นคอ บางรายมีอาการเวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะแบบตุบ ๆ เป็นจังหวะเหมือนกับไมเกรน แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มานานแล้ว จะมีอาการอ่อนเพลีย ใจสั่น นอนไม่หลับ ที่อันตรายก็คือสำหรับบางรายถ้ามีอาการโคมา อาจจะทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งนี่คือจุดที่แย่ที่สุดของโรคนี้ 

 

ถ้าหากว่าคุณเองรู้ตัวเองว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วนั้น หากปล่อยเอาไว้นาน ก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ทำให้ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดหัวใจหนา หัวใจขาดเลือด รวมทั้งหัวใจอาจวายได้ ยิ่งไปกว่านั้น อาจจะมีส่งผลเสียให้กับหลอดเลือดโป่งพอง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้น้อยลง ซึ่งทุกเรื่องเป็นสาเหตุของ อัมพฤกษ์ อัมพาต นี่คือจุดที่แย่ที่สุดของอาการทั้งหมดนั่นเอง หากมี ไขมันในเลือดสูง จะเสี่ยงเป็นโรคใดบ้าง


ระดับความดันโลหิตเท่าไรถึงเข้าข่ายโรค

โรคเกี่ยวกับความดันโลหิต มีความสำคัญมาก พอ ๆ กับ ค่าของความดันโลหิตที่คุณเองจะต้องเรียนรู้เอาไว้ เพราะว่า คุณจะสามารถรู้ได้ทันทีหลังจากอ่านค่าความดันเลยว่า ร่างกายของเรานั้นปกติหรือไม่ โดยค่าความดันจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการวัดค่าได้ดังต่อไปนี้

 

รายละเอียดค่าความดัน 

  • ความดันโลหิตที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 120 / 80 mm/Hg 
  • ความดันโลหิต ค่อนข้างสูง แต่ทว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 121-139/80-89 mm/Hg
  • ความดันโลหิตสูงมาก คือ ความดันโลหิตตัวบนนั้นมากกว่า 140 (mm/Hg) ส่วนตัวล่างมากกว่าหรือเท่ากับ90 (mm/Hg)
  • ความดันโลหิตระดับอันตราย 160/100 (mm/Hg) 

เรื่องสำคัญเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง จะอยู่ในระดับอ่อน หรือปานกลาง ก็มักจะไม่มีอาการอะไรที่แสดง แต่ทว่าได้มีการทำลายอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายไปทีละน้อยโดยที่เราเองไม่รู้ตัว จนเกิดอาการแทรกซ้อนในระดับรุนแรง เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยการดูแลสุขภาพเป็นประจำ วัดค่าความดันโลหิตเป็นประจำ จะช่วยให้คุณไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้นั่นเอง ดังนั้น เมื่อคุณเองรู้ตัวแล้วว่าร่างกายมีภาวะความดันโลหิตที่ไม่ปกติ จะต้องทำการดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ 


วิธีดูแลตัวเอง เมื่อความดันโลหิตสูง

วิธีดูแลเมื่อความดันโลหิตสูง

มาถึงขั้นตอนที่คุณจะต้องดูแลตัวเองแล้ว สำหรับใครที่ได้ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ต้องกังวล เพราะทุกอย่างสามารถรักษาอาการให้คงที่ได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต รวมทั้งการปรับสมดุลให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับโรคได้อย่างแข็งแรงมากขึ้น เมื่อเกิดอาการความดันโลหิตสูง ไม่มีวิธีแก้ที่หายขาด ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตของตัวเองให้อยู่ในรูปแบบที่ส่งเสริมให้ร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่ตลอดเวลา โดยมีวิธีดังต่อไปนี้ 

 

1. การใช้ยาบางชนิด ปรึกษาแพทย์ให้ดี 

สำหรับอาการเจ็บป่วย หรือเป็นโรคเรื้อรัง ต้องระวังให้มากเกี่ยวกับยาบางชนิด ที่อาจจะทำให้คุณมีอาการความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่ แจ้งทุกครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะว่าได้เป็นโรคประจำตัวของคุณไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย ถึงแม้ว่าจะไม่แสดงอาการก็ตาม นี่จึงเป็นอีกหนึ่งข้อสำคัญที่ต้องดูแลสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ แนะนำ การออกกําลังกายแบบถูกวิธี ดีต่อสุขภาพ

2. ปรับเปลี่ยน มาออกกำลังกาย 

สำหรับคนที่ไม่เคยออกกำลังกายเลยในช่วงหลัง ๆ หันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วนเกินไป ไม่ผอมจนเกินไป ให้อยู่ในระดับที่สมส่วนของค่า BMI การควบคุมอาหารที่ไม่ทำร้ายสุขภาพ เช่น อาหารที่มีไขมันมากเกินไป หรือรสจัดมากเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้ร่างกายสะสมไขมัน เพิ่มน้ำหนักนั่นเอง ยิ่งผู้สูงอายุอาจเสี่ยงต่อการเป็น โรคกระดูกพรุน ได้ง่ายด้วย 

3. งดอาหารหมักดอง 

เมื่อพูดถึงเรื่องอาหาร จำเป็นเลยที่จะต้องพูดถึงอาหารที่งดสำหรับผู้ที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งได้แก่ ของหมักดอง เพราะว่ามีโซเดียมสูง ซึ่งอาจจะทำให้คุณเกิดโรคแทรกซ้อนได้นั่นเอง ซึ่งได้แก่ ผักกาดดอง ปลาร้า หอยดอง กุ้งแห้ง เป็นต้น ในขณะที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ให้งดด้วยเช่นเดียวกัน 

4. ดูแลสุขภาพจิต

สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สำหรับบางรายมักจะมีอาการที่ค่อนข้างส่งผลต่อการใช้ชีวิต เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ซึ่งแน่นอนเลยว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอาการที่ค่อนข้างจะกวนใจสำหรับคนที่ต้องทำงาน หรือ ใช้ร่างกายทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไม่คล่อง นี่แหละคือจะสิ่งที่เกิดเรื่องที่รบกวนจิตใจ ความเครียด มองโลกในแง่ร้าย ดังนั้น การหมั่นทำสุขภาพจิตให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำสำหรับผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น การเล่นโยคะ ร้องเพลง หรือ กิจกรรมอื่น ๆ ที่ผ่อนคลายอารมณ์ได้ดี 

5. ปฏิบัติตามแพทย์สั่ง

เมื่อคุณกำลังอยู่ในการรักษาโรคนี้ จะต้องทำตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการงดอาหารที่ทำให้ความดันโลหิตไม่ปกติ รวมทั้งการใช้ชีวิต ความเครียด ที่คุณจะต้องลดลงอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญยาแผนปัจจุบันจะช่วยให้คุณบรรเทาอาการได้ดีขึ้น

 

ซึ่งการดูแลตัวเองที่ป่วยเป็นภาวะความดันโลหิตสูงนั้น สามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกช่วงวัย ไม่จำเป็นต้องมีอายุที่มาก หรือเพศใด เพราะด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน อันตรายจากสารเคมี อาหาร สามารถทำให้ร่างกายของเรานั้นเปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วเมื่อเกิดอาการผิดปกติที่รู้สึกได้ว่าตัวเองมีความผิดปกติ จะต้องรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค เพราะอาจจะเป็นสัญญาณเข้าสู่โรคร้ายได้นั่นเอง 


อ้างอิง