ออฟฟิศซินโดรมรักษา อย่างไร รวมวิธีดูแลและรักษา

ออฟฟิศซินโดรมรักษา อย่างไร รวมวิธีดูแลและรักษา

ปัจจุบันนี้โรคออฟฟิศซินโดรมมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน โดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ถึงแม้ว่าโรคออฟฟิศซินโดรมจะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่ก็สร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตค่อนข้างสูง ทว่าโรคนี้สามารถป้องกัน และ ออฟฟิศซินโดรมรักษา ให้หายได้อย่างไร มาดูกัน


ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

โรคออฟฟิศซินโดรม คือ โรคอาการปวดที่อยู่ในกลุ่มอาการปวดหรือชากล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบจากเนื้อเยื่อและเอ็น โรคออฟฟิศซินโดรมพบได้มากในกลุ่มคนวัยทำงาน ที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งหรือยืนท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือมือถือ การยืนบริการ เป็นต้น

 

ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีอายุน้อยหรืออายุมาก มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ทุกคน แต่คนที่มีอายุมากจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนที่มีอายุน้อย โดยเฉพาะคนอ้วนหรือคนที่กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงจะมีโอกาสเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมมากกว่าคนที่ผอมและมีกล้ามเนื้อแข็งแรง


อาการของออฟฟิศซินโดรม

อาการของออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่มีลักษณะอาการทั้งแบบที่สร้างความเจ็บปวดและไม่สร้างความเจ็บปวด ซึ่งอาการของออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อยมีดังนี้

 

  1. ปวดกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรมจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเฉพาะส่วนหรือปวดที่จุดใดจุดหนึ่ง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก ส่วนหลัง และสะโพก โดยช่วงแรกอาการปวดจะเป็น ๆ หาย ๆ หากไม่ทำการรักษา อาการปวดจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 
  2. ปวดศีรษะเรื้อรัง ผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรมจะมีอาการปวดหัวตามมาหลังจากที่มีอาการปวดที่บริการไหล่ บ่าหรือคอ เนื่องจากอาการปวดที่บริเวณไหล่จะไปกดทับเส้นเลือด ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวนั่นเอง ซึ่งอาการปวดหัวนี้จะเป็นอาการปวดหัวปกติหรือปวดแบบไมเกรนได้ทั้งคู่ อีกทั้งความเครียดหรืออาการปวด ก็อาจส่งผลให้เกิด อาการนอนไม่หลับ
  3. ปวดหลัง การอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือยืนด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องจะทำให้กล้ามเนื้อหลังเกิดการยืดหรือหดในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังเกิดการอักเสบและมีอาการปวดเกิดขึ้น 
  4. นิ้วล็อก ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อยอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งนิ้วล็อกมีสาเหตุมาจากการที่นิ้วมืออยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน เช่น การจับเมาส์ การถือของ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่บริเวณมือ ข้อนิ้วมือหรือนิ้วมือ (De Quervain’s disease) อักเสบ ทำให้นิ้วมือเกิดอาการชา ขยับไม่ได้หรือเมื่อขยับจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง 
  5. เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ จะทำให้มีอาการบวมหรือเจ็บที่บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ พบได้มากที่บริเวณข้อต่อ อย่างหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเท้า เข่าและข้อมือ อาการนี้จะพบในผู้ป่วยที่ต้องทำงานหนักหรือร่างกายได้รับการกระแทกหรือต้องเกร็งกล้ามเนื้อส่วนนี้ระหว่างทำงานเป็นประจำ จึงทำให้เกิดเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบและเกิดอาการปวดขึ้น
  6. ปวดตา การทำงานที่ต้องใช้สายตาจดจ้องหรือมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้กล้ามเนื้อและจอประสาทตาเกิดความเมื่อยล้า ส่งผลให้ตาแห้ง แสบตาและปวดเบ้าตา ซึ่งถือเป็นอาการอย่างหนึ่งของออฟฟิศซินโดรม

จะเห็นว่าอาการของออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นกับอวัยวะทุกอย่างของร่างกายได้ทั้งสิ้น หากมีการใช้อวัยวะหรือกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้อยู่ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานานโดยไม่มีการขยับหรือเปลี่ยนอิริยาบถ 


ออฟฟิศซินโดรมรักษา อย่างไร

ออฟฟิศซินโดรมรักษา อย่างไร

โรคออฟฟิศซินโดรมมีวิธีการรักษาไม่ยาก ยิ่งรู้ตัวและทำการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการออฟฟิศซินโดรม การรักษาจะยิ่งง่าย แต่ถ้ามีอาการออฟฟิศซินโดรมมีอาการที่รุนแรงจะต้องใช้หลายวิธีและระยะเวลาในการรักษาที่นานจึงจะหาย โดยการรักษามีดังนี้

 

  1. ปรับพฤติกรรม สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมที่ไม่รุนแรงหรือเริ่มมีอาการเบื้องต้น แพทย์จะแนะนำให้ปรับท่าทางการทำงาน การใช้ชีวิตให้ถูกต้อง แล้วอาการออฟฟิศซินโดรมจะดีขึ้นและหายในที่สุด 
  2. การทานยา ยาสำหรับรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมประกอบด้วยยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxants), ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs), ยาแก้ปวดที่ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ การทานยาจะต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์หรือเภสัชที่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาทุกครั้ง เพราะยาบางชนิดหากทานไม่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
  3. การทำกายภาพบำบัด การทำกายภาพบำบัดจะมีด้วยกันหลายวิธี เช่น การอัลตร้าซาวด์ การเลเซอร์รักษา การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า การประคบร้อน การยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ซึ่งการทำกายภาพบำบัดจะช่วยลดอาการปวดของกล้ามเนื้อหรือเอ็นกล้ามเนื้อที่เกิดจากการอักเสบขึ้น ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการพิจารณาว่าต้องใช้การทำกายภาพบำบัดชนิดใด
  4. ฝังเข็ม การฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาของแพทย์แผนจีนที่ใช้เข็มฝังเข้าไปตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและลดอาการปวด 

การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมจะทำการรักษาเมื่ออาการของโรคมีความรุนแรงจนทนไม่ไหวจริง หากอาการยังอยู่ในช่วงแรกที่มีความรุนแรงน้อย ๆ แพทย์จะให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็สามารถรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมให้หายได้


วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรม

วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการใช้เวลานานในการทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนในท่าที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ ในร่างกายอ่อนแรงและทนทานน้อยลง ดังนั้นเพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม คุณสามารถทำตามแนวทางต่อไปนี้

 

1. ปรับท่าทางในการทำงาน ในขณะที่ทำงาน รักษาระยะเวลาในการนั่งหรือยืนให้เหมาะสม ปรับท่าทางให้ถูกต้อง และรองรับหลังและต้นคอให้ดี ควรยืดตัวและเปลี่ยนท่าทางตอนเวลาทำงานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ

2. การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย ทำการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ยืดหลังและต้นคอ คลายกล้ามเนื้อและกายภาพบำบัดที่เกี่ยวข้อง และทำการออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงในร่างกาย

3. การปรับแต่งที่ทำงาน จัดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานให้เหมาะสมและสื่อความสบายในการใช้งาน เช่น โต๊ะทำงานที่สามารถปรับสูงต่ำได้ หรือเก้าอี้ที่รองรับร่างกายให้เหมาะสม

4. การพักผ่อน ตั้งเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอระหว่างการทำงาน ใช้ช่วงเวลาพักเต็มประโยชน์ เพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ เช่น ทำการยืดตัวที่โต๊ะทำงาน การพักสายตา หรือการทำการหยดตาสักครู่ เมื่อรู้สึกว่าดวงตาอ่อนล้า

5. การดูแลรักษาท่าทางที่ถูกต้อง หากมีการทำงานในท่าที่ต้องนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ควรรักษาท่าทางที่ถูกต้อง รักษาท่าทางที่สม่ำเสมอและเปลี่ยนท่าทางเมื่อเห็นว่าร่างกายเริ่มรู้สึกไม่สบาย

6. การดูแลรักษาสุขภาพทั่วไป ดูแลสุขภาพอย่างดี โดยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรักษาสุขภาพใจให้ดี การมีสุขภาพที่ดีจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายเพื่อที่จะสามารถเผชิญกับการทำงานในท่าทางต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งนอกจากโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว โรคยอดฮิตที่คนวัยทำงานมักจะเป็นก็คือ โรคกรดไหลย้อน และ โรคท้องผูก

7. การปรับสภาพแวดล้อมที่ทำงาน พยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสร้างความสบายในสถานที่ทำงาน เช่น ปรับแสงสว่างให้เหมาะสม การควบคุมอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสม และระบายอากาศให้อยู่ในสภาพที่ดี

 

โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งการป้องกันโรคนี้มีวิธีการง่ายมาก นั่นคือ การปรับท่าทางการทำงานให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม มีการเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 20-30 นาที และออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อเป็นประจำ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมได้แล้ว 

 

จะเห็นว่าโรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะมีอาการเกิดขึ้น แต่ถ้ามีอาการแล้วจะต้องใช้เวลานานกว่าจะ ออฟฟิศซินโดรมรักษา หายได้ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด


อ้างอิง