ไขมันในเลือดสูง ตัวการเสี่ยงสารพัดโรค

การมีระดับ ไขมันในเลือดสูง อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าคุณอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สูงขึ้น ไขมันในเลือดส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ หรือคอเลสเตอรอลสูง โดยเฉพาะ LDL ไขมันชนิดไม่ดีเป็นประเภทที่ถูกพูดถึงมากที่สุด เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการสะสมของเส้นเลือดในหัวใจและสมอง ในขณะที่ไตรกลีเซอไรด์มีบทบาทในการช่วยลดระดับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น การควบคุมระดับไขมันในเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพของคุณ

 

จุดเริ่มต้นความเสี่ยงไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ รูปแบบความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดมีหลายรูปแบบ อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ คนปกติจะมีระดับคอเลสเตอรอลปกติรวมในเลือดไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับไตรกลีเซอไรด์ปกติจะไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในกรณีที่พบว่ามีไขมันในเลือดสูงสาเหตุนั้นอาจเกิดได้จากหลายสภาวะ เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีความบกพร่องในการเผาผลาญไขมันผิดปกติ, พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่กินแต่อาหารไขมันสูง, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือ จากยาบางชนิด

 

ซึ่งเมื่อมีไขมันคอเลสเตอรอลมากเกินไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกาย ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัว และการตีบตันของหลอดเลือดในอนาคต  นำไปสู่สารพัดโรค เพราะเมื่อร่างกายมีไขมันในเลือดสูง เลือดจะมีความหนืดสูงกว่าปกติก็จะทำให้เกิดการสะสมไขมันตามหลอดเลือดต่าง ๆ ได้ง่าย ส่งผลให้หลอดเลือดตีบแคบลงและอุดตัน ระดับไขมันในเลือดมีความสำคัญต่อการเกิดหลอดเลือดตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย ตาบอด ได้ เจาะลึกเรื่อง ไขมันดี ไขมันเลว คืออะไร?


อาการเป็นอย่างไร

ไขมันในเลือดสูง อาการเป็นอย่างไร

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคไขมันในเลือดผิดปกติจะไม่ทราบว่ามีอาการดังกล่าว โดยปกติแพทย์จะวินิจฉัยภาวะไขมันในเลือดสูงในระหว่างการตรวจเลือดตามปกติ กล่าวคือ เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีการเจาะเลือดตรวจ ซึ่งผู้ที่สมควรได้รับการตรวจ ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน หรือผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ผู้ที่มีภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ที่ติดบุหรี่ และผู้ที่มีอายุ  35  ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม หากคุณหรือคนในครอบครัวมีอายุมากกว่า 35 ปี ควรตรวจเลือดเช็กระดับไขมันทุก ๆ 1-2 ปี และในช่วง 1 อาทิตย์ก่อนมาตรวจเลือดควรรับประทานอาหารตามปกติ เพื่อให้ค่าระดับไขมันในเลือดถูกต้องที่สุด คุณอาจสนใจบทความ ออกกําลังกายลดคอเลสเตอรอล


อาหารลดไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูงต้องกินยาตลอดชีวิตไหม

การรักษาระดับไขมันในเลือดสูง ควรรวมถึงการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด นี่คือบางอาหารที่คุณควรรับประทาน และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

1. อาหารที่ควรรับประทาน

การรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง จะทำ ให้ระดับของไขมันที่ไม่ดีและคอเลสเตอรอลรวมเพิ่มขึ้น ถ้าลดการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลลง จะทำ ให้ระดับไขมันไม่ดีและคอเลสเตอรอลรวมลดลง สำหรับอาหารที่ช่วยลดไขมันในเลือดสูง คืออาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่ อาหารที่ทำจากพืช ถั่วต่าง ๆ และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลาชนิดต่าง ๆ เน้นการปรุงประกอบอาหารแบบต้ม อบ นึ่ง ตุ๋น ยำ แทนการใช้น้ำมัน หากจำเป็นต้องใช้น้ำมันควรลดปริมาณให้น้อยลงหรือเลี่ยงการใช้น้ำมันจากพืชเขตร้อน เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกาดหอม ที่เป็นแหล่งของใยอาหาร รวมถึงผลไม้อย่าง ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย ลูกพลับ มังคุด เป็นต้น เป็นแหล่งของใยอาหารและมีสารอาหารที่ช่วยลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด

 

2. อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงไขมันในเลือด การรับประทานไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลมากอย่างอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เช่น พาย โดนัท ขนมขบเคี้ยว เนยเทียม มาการีน ขนมเบเกอรรี่ ของหวาน หรือ เครื่องดื่มหวานจัดต่าง ๆ  มีผลทำให้ไขมันชนิดเลวในร่างกาย (LDL) และไตรกลีเซอร์ไรด์เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้ไขมันชนิดดี (HDL) ในร่างกายมีปริมาณลดลง และควรหลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมัน หมู ไก่ เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ สัตว์ที่มีกระดองแข็ง เช่น หอยนางรม ปู ปลาหมึก น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น เครื่องปรุงรสหรืออาหารที่มีปริมาณเกลือสูง รวมถึงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ข้าว ขนมปังขนาดใหญ่ เส้นหมี่ สปาเก็ตตี้ ควรลดการบริโภคในปริมาณมาก เนื่องจากอาจส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้นได้ บทความแนะนำ ไขมันอิ่มตัว VS ไขมันไม่อิ่มตัว เลือกแบบไหน ดีต่อร่างกาย


ไขมันในเลือดสูงต้องกินยาตลอดชีวิตไหม

ยาลดไขมันไม่จำเป็นต้องกินตลอดชีวิตเสมอไป แนวทางสำคัญในการคุมไขมัน คือ ดูแลการ “กิน” และ “อยู่” ให้ดี ปฏิวัติตัวเองให้ได้ ตั้งแต่การรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง การปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอย่างการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่ไม่มัน และติดตามค่าเลือด/ความเสี่ยง ถ้าค่าเลือดยังคงมีไขมันสูงแพทย์อาจจะเริ่มให้รับประทานยาลดไขมัน ซึ่งหากเริ่มกินยาไปแล้ว ในบางรายก็สามารถเอาออกได้ เช่น ควบคุมได้และค่าไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติแล้ว เป็นต้น อย่างไรก็ตามอย่าลืมปรึกษาแพทย์ที่รักษาถึงข้อดีและข้อเสียก่อนหยุดยา และไม่ควรหยุดยาเองไปเฉย ๆ


อ้างอิง