ปัญหาการนอนหลับ
อยากนอนมาก แต่นอนไม่หลับ เป็นภาวะของผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับในเวลากลางคืน มีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ หลับไม่สนิท หรือการตื่นเช้ากว่าปกติและไม่สามารถกลับไปนอนได้อีก ทำให้รู้สึกเหนื่อยไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน นอกจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอจะส่งผลต่อระดับพลังงานและอารมณ์แล้ว ยังส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพชีวิตอีกด้วย เรียกได้ว่าได้รับผลกระทบทั้งหมดไม่ว่าจะทางใจหรือทางกาย การนอนหลับให้เพียงพอนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สำหรับคนทั่วไปควรใช้เวลาอยู่ที่ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน บางคนมีอาการนอนไม่หลับระยะสั้น (แบบเฉียบพลัน) กินเวลานานหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ มักเป็นผลมาจากความเครียดหรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ แต่สำหรับผู้ที่นอนไม่หลับระยะยาว (แบบเรื้อรัง) ซึ่งกินเวลานานเป็นเดือนหรือมากกว่านั้น การนอนไม่หลับอาจเป็นปัญหาหลักที่อาจต้องใช้หลาย ๆ วิธีเข้าช่วย เช่น การรักษาด้วยตัวเอง การรักษาด้วยยา หรือ การบำบัดและการรักษาทางการแพทย์ เป็นต้น
อาการของผู้ที่นอนไม่หลับ
- ตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะหลับไม่สนิท
- ความยากลำบากในการนอนตอนกลางคืน
- ง่วงนอนอยากงีบและมีความเหนื่อยล้าในเวลากลางวัน
- ระบบความจำมีปัญหา ทำให้เรียนหรือทำงานอย่างขาดประสิทธิภาพ
- มีความกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการนอนหลับ
- รู้สึกไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอหลังจากตื่นนอน
- รู้สึกตื่นเร็วกว่าปกติ หรือ ตื่นเช้าเกินไปแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ซึมเศร้า และวิตกกังวล โดยไม่มีสาเหตุบ่อย ๆ
อย่างไรก็ตามไม่มีเหตุผลที่คุณต้องทนกับคืนที่แสนทรมานเพราะนอนไม่หลับ การเปลี่ยนแปลงนิสัยประจำวันง่าย ๆ เหล่านี้อาจช่วยได้
- หลีกเลี่ยงหรือจำกัดการใช้คาเฟอีน แอลกอฮอล์ และนิโคติน
- หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่และเครื่องดื่มก่อนนอน
- จัดห้องนอนให้สะดวกสบายเหมาะสำหรับการพักผ่อน
- ตรวจสอบยาประจำตัว (หากมี) ดูว่ามีส่วนทำให้นอนไม่หลับหรือไม่
- สร้างกิจกรรมก่อนนอนที่ผ่อนคลาย เช่น การอาบน้ำอุ่น อ่านหนังสือเรื่องโปรด หรือฟังเพลงเบา ๆ
- กำหนดเวลาเข้านอนและเวลาตื่นให้สม่ำเสมอในแต่ละวัน รวมวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ด้วย
- ออกกำลังกายอยู่เสมอ การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำเป็นการส่งเสริมการนอนหลับที่ดี
- หลีกเลี่ยงการเล่นวิดีโอเกมหรือการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน ก่อนนอน
- การงีบหลับในช่วงบ่าย อาจทำให้เวลานอนในตอนกลางคืนลดลงและทำให้หลับยาก
- การนอนชดเชย อาจทำให้นาฬิกาของร่างกายสับสนและทำให้กำหนดตารางการนอนหลับที่ดีได้ยาก
ถั่งเช่าดีต่อการนอนหลับ
การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอส่งผลกระทบต่อ สภาพร่างกาย สภาพจิตใจ การใช้ชีวิต และเพิ่มโรคแทรกซ้อน ทำให้ระบบเผาผลาญพลังงานภายในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ อาจเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือเกิดภาวะอ้วนตามมา เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเพราะการทำงานของสมองที่ช้าลง อย่างแย่ที่สุดคือการเข้าไปเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล รวมไปถึงการเพิ่มความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์เพื่อช่วยในการนอนหลับ Cordyceps หรือ ถั่งเช่าเป็นเห็ดที่ช่วย “เพิ่มพลังงาน” ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อให้มีการส่งออกซิเจนและสารอาหารไปทั่วร่างกาย ช่วยกระตุ้นการผลิต ATP สารที่ให้พลังงานสูงภายในเซลล์ของร่างกาย
องค์ประกอบหลายอย่างที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในถั่งเช่าช่วยให้การนอนหลับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากสารสำคัญตั้งแต่ cordycepin, adenosine, polysaccharide, nucleoside, sterol ฯลฯ การศึกษาวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าถั่งเช่ามีคุณสมบัติช่วยป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระ, สร้างภูมิคุ้มกัน, บรรเทาความเจ็บปวด ลดการตื่นตัวของเส้นประสาทส่วนกลาง ลดความเหนื่อยล้า ช่วยทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น ลดวงจรการนอนหลับ-ตื่นนอน ทำให้ร่างกายพร้อมสำหรับการทำงานในวันใหม่อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ สุขภาพในด้านอื่น ๆ ของคุณก็จะดีตามไปด้วย
อ้างอิง :