เมื่ออายุที่มากขึ้น สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยต่อร่างกายคือภัยเงียบมักถามหา โรคร้ายที่สามารถป้องกันได้หากรู้ทัน รู้หรือไม่ว่ามีโรคชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย นั้นก็คือ โรคกระดูกพรุน นั่นเอง เป็นภาระที่ร่างกายนั้นใช้พฤติกรรมที่ผิด ๆ มาโดยตลอด ทำให้มวลของกระดูกนั้นเกิดภาวะลดลง แต่อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้อีกเหมือนกันว่าพันธุกรรมก็เป็นสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องเช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตามโรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ หากรู้ทันมัน ข้อสังเกตของโรคร้ายนี้เพื่อเตือนภัยให้กับเพื่อน ๆ มักมีอาการที่บ่งบอกเสมอ ซึ่งโรคนี้จะเกิดการจากใช้พฤติกรรมที่หักโหมจนเกินไป อาทิ ยกของหนัก มีการปวดหลัง เพราะจะพบในบริเวณ สะโพก กระดูกสันหลัง ข้อมือ และโรคกระดูกชนิดนี้จะพบในวัยสูงอายุมากกว่า แต่ไม่ใช่ว่าหนุ่มสาวอย่างเราจะไม่เกิดขึ้นเลย
โรคกระดูกพรุน คืออะไร ?
มาไขข้อสงสัยว่าแท้ที่จริงแล้ว โรคนี้คืออะไรกันแน่? โรคกระดูกพรุน หรือ Osteoporosis เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกที่เกิดจากการสูญเสียแร่ธาตุในกระดูก ในร่างกายของเรานั้นจะเกิดการสร้างแคลเซียมและโปรตีนให้กับกระดูก และยังมีส่วนที่สลายของกระดูกอีกด้วย เพื่อสลายกระดูกเก่าออกไป ซึ่งโรคนี้จะเกิดจากภาวะที่ร่างกายนั้นสร้างแคลเซียมและโปรตีนไม่ทันของการสลายกระดูก ทำให้หน้าที่ของสลายกระดูกมีมากกว่าที่ร่างกายจะสร้างการทดแทนขึ้นมานั้นเอง ทำให้กระดูกเป็นพรุนและแข็งแรงน้อยลง
โดยส่วนใหญ่พบได้ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติความเสี่ยง อาทิเช่น ผู้ที่ไม่ได้รับแร่ธาตุเพียงพอในอาหาร ผู้ที่มีประวัติโรคกระดูก หรือผู้ที่มีประวัติการใช้ยาสูตรเสริมแคลเซียมมากเกินไป หากไม่รักษาโรคให้เหมาะสม โรคกระดูกพรุนอาจทำให้เกิดการหักกระดูก หรือการเสื่อมสภาพของกระดูกได้
โรคกระดูกพรุนมีอาการหลายอย่างที่ผู้ป่วยสามารถรู้สึกได้ เช่น ความเจ็บปวดในประเด็นต่างๆของร่างกาย เช่น สะโพก หลัง ข้อเข่า หรือสันเท้า มีอาการเหนื่อยง่าย กระหายน้ำหนัก ขนาดของตัวผู้ป่วยเล็กลง และมีความเสี่ยงต่อการหักกระดูกสูงขึ้นการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนจะใช้วิธีการตรวจด้วยเทคนิคการสแกนกระดูก (Bone Scan) หรือการตรวจด้วยอุปกรณ์ช่วย (Dual-energy X-ray Absorptiometry) โดยการวินิจฉัยเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องและรู้ว่าขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
การรักษาโรคกระดูกพรุนจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุของผู้ป่วย ความรุนแรงของโรค และประวัติการรักษาโรค การรักษาโดยทั่วไปจะเน้นไปที่การป้องกันการเสื่อมสภาพของกระดูกและการสูญเสียแร่ธาตุ โดยการบริโภคอาหารที่มีแร่ธาตุอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายเพื่อสร้างกระดูกแข็งแรง และการรับประทานยาเสริมแคลเซียมและวิตามิน D เป็นต้น บทความที่น่าสนใจ ออฟฟิศซินโดรม ก็เป็นอีกโรคที่ส่งผลต่อกระดูกและร่างกาย
อาการโรคกระดูกพรุน เตือนภัยก่อนจะสายไป
โรคกระดูกพรุน เป็นอีกหนึ่งโรคของภัยเงียบที่แท้จริง เพราะกว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว เป็นภัยที่ค่อย ๆ สะสมอยู่ภายในร่างกายของเรา แต่ทว่าเราลองสังเกตพฤติกรรมในแต่ละวัน มักจะพบความผิดปกติของร่างกายที่จะนำไปสู่โรคร้ายนี้ได้
ข้อสังเกตของอาการโรคกระดูกชนิดนี้ ดูจากกระดูกสันหลังว่าเราเดินหลังค่อมหรือเปล่า มักจะเป็นการปวดที่ฝังลึกไปยังกระดูก การปวดหลังก็มีส่วนของโรคร้ายนี้เหมือนกัน และยังมีบริเวณที่กระทบกับกระดูกสันหลังเช่นกัน ไม่ว่าจะช่วงกระดูกหลังขา ที่สามารถล้มได้ง่ายถ้ามีอาการของโรคนี้
ภาวะที่เกิดจากอุบัติเหตุก็มีความเสี่ยงที่จะพบอาการของโรคนี้เช่นกัน เพราะกระดูกของคนเรามีสถานะที่เปราะบาง อาจนำปัญหาให้พบเจอกับโรคกระดูกได้ และอีกหนึ่งสิ่งที่ควรสังเกตนั้นก็คือครอบครัวของเราใครที่มีโรคชนิดบ้างหรือเปล่า เพราะทางพันธุกรรมก็สามารถส่งต่อได้เช่นกัน
ทั้งนี้ หากใครที่คิดว่าอยู่ในสถานะสุ่มเสี่ยงกลัวว่าจะเป็นโรคร้ายชนิดนี้ ในปัจจุบันสามารถไปเอ็กซเรย์ เพื่อตรวจสอบความหนาแน่นของมวลกระดูกในร่างกายได้แล้ว เพราะถ้าเกิดพบสิ่งที่ผิดปกติจะได้รีบรักษาอาการได้ทันท่วงที ถ้าหากปล่อยไว้นานเกิดจะยิ่งทำให้แคลเซียมของกระดูกพรุนมากยิ่งขึ้นเมื่อแก่ตัวไป
วิธีรักษา โรคกระดูกพรุน ยับยั้งอาการไม่ให้รุนแรงจนเกินไป
อย่างไรก็ตาม การเกิดโรคกระดูกพรุนถึงแม้ว่าจะพบเจอตอนที่เกิดสภาวะที่รุนแรงเสียแล้ว แต่ในปัจจุบันด้วยเทคนิคการแพทย์ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น มียาปฏิชีวนะที่ดีขึ้น ทำให้การรักษาโรคนี้ใช้วิธีในการทานยาและฉีดยานั่นเอง
โดยตัวยาทั้งการทานและการฉีดยา จะไปช่วยยับยั้งในส่วนของการสลายกระดูกไม่ให้เกิดการลุกลามมากจนเกินไป และช่วยให้หน้าที่ของแคลเซียมที่ทำงานไม่ทันของการสลายกระดูกกับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้นนั้นเอง
รู้หรือไม่ว่าการเพิ่มฮอร์โมนก็เป็นอีกหนึ่งทางในการรักษาโรคกระดูกชนิดนี้ได้เช่นกัน อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคชนิดนี้มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทำให้อีกหนึ่งการรักษาอย่างการเพิ่มฮอร์โมนที่มีชื่อว่า “ฮอร์โมนเอสโตรเจน” มักจะพบในหญิงที่หมดประจำเดือนไม่สร้างที่จะเพิ่มฮอร์โมนชนิดนี้ในสภาวะที่ปกติได้ ดังนั้น การผ่าตัดรังไข่และมดลูกออกจะช่วยให้ฮอร์โมนชนิดนี้อยู่ในระดับที่ปกติเหมือนเดิม
วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน
ขึ้นชื่อว่าโรคร้ายที่มาจากภัยเงียบทำให้ไม่สามารถรู้ได้ทันที ไม่มีใครที่ไม่อยากจะเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนกันแน่นอน ดังนั้นเมื่ออายุที่มากขึ้นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่เสี่ยงเป็นโรคนี้ก็สำคัญเช่นกัน ไม่เพียงแต่ช่วยได้แค่โรคกระดูกพรุนยังสามารถช่วยให้ร่างกายของเพื่อนๆนั้นแข็งแรงและปราศจากโรคภัยชนิดอื่นอีกด้วย ซึ่งวิธีป้องกันมีดังนี้
1. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่เพียงแต่ในวัยผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ควรเน้นตั้งแต่วัยเด็ก วัยทำงาน ที่นั่งทำงานเป็นประจำ ควรที่จะลุกยืนยืดเส้นยืดสายบางในระหว่างวัน เพราะในส่วนของกระดูกสะโพกจะหักได้ง่าย ยิ่งในช่วงวัย 40 ปีขึ้นไป ควรที่จะหันมาดูแลสุขภาพออกกำลังเล็กน้อย อาทิ เดินเล่น เต้นรำ เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกเปราะบางและล้มได้ง่ายนั้นเอง
2. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์
ทราบหรือไม่ว่าในส่วนของแอลกอฮอล์มีความเป็นกรดสูง จะยิ่งทำให้ส่งผลต่อมวลกระดูกได้ง่าย ไม่เพียงแต่ในส่วนของแอลกอฮอล์เท่านั้น กาแฟ ชา น้ำอัดลม หรือพวกที่มีคาเฟอีนมาก พวกนี้ก็มีความเป็นกรดสูงเช่นกัน
3. บำรุงร่างกายทานแคลเซียม
เมื่ออายุที่มากขึ้นทำให้แคลเซียมในร่างกายสึกหรอไปตามสภาพของอายุ ดังนั้นการเลือกรับประทานแคลเซียมหรือพวกวิตามินดีสูงจะช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกนั้นมีความเจริญเติบโตได้ดี ไม่เสี่ยงเป็นกระดูกพรุนได้ง่าย นอกจากนี้ การรับประทานอาหารเสริมอย่าง คอลลาเจน ช่วยบํารุงข้อและกระดูก ได้ด้วย
4. ไม่ปล่อยให้น้ำหนักเยอะเกินไป
น้ำหนักในตัวของเรามีพบต่อข้อต่อและกระดูกภายในร่างกายอย่างมาก เพราะถ้าปล่อยให้ร่างกายมีน้ำหนักที่มีมากจนเกินไปจะให้การทรงตัวรับไม่ไหว ดังนั้น ควรรักษาน้ำหนักให้สมส่วนและพอดีกับส่วนสูงของเรา แล้ว ไขมันอิ่มตัว VS ไขมันไม่อิ่มตัว เลือกกินแบบไหน ดีต่อร่างกาย
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่ากระดูกพรุน ถึงจะเป็นโรคที่เกิดจากภัยเงียบ แต่ถ้าเราหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ลองสังเกตตัวเองเป็นประจำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะในส่วนของแคลเซียม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะอายุมากขึ้นเพียงใดโรคนี้ก็ไม่สามารถทำอะไรเราได้เช่นกัน
อ้างอิง
-
- Osteoporosis – Symptoms and causes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/osteoporosis/symptoms-causes/syc-20351968
- Osteoporosis: Symptoms, Causes, Tests & Treatment. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/4443-osteoporosis