ท้องผูกเรื้อรัง คือ อาการที่เกิดจากการติดต่อกันของเส้นลำไส้ที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและท่ออวัยวะ อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบริโภคอาหารที่มีเส้นใยน้อยหรือการนั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลานานๆ เนื่องจากการนั่งชิดโต๊ะอาจทำให้การไหลเวียนของโลหิตลดลง ควรดูแลรักษาระบบทางเดินอาหารเพื่อป้องกันการเกิดท้องผูกเรื้อรัง นอกจากนี้ สามารถรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของผัก ผลไม้ และเมล็ดพืชที่มีใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโพด ขนมปังโฮลวีต ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้ที่มีเนื้อใยสูง เพื่อช่วยเร่งการขับถ่าย
ท้องผูกเกิดจาก
อาการ ท้องผูกเป็นผลมาจากการที่ลำไส้ใหญ่บีบตัวหรือเคลื่อนตัวช้าระหว่างย่อยอาหาร จึงทำให้ไม่สามารถกำจัดอุจจาระออกจากระบบทางเดินอาหารได้ปกติ ทีนี้ปัญหาที่จะตามมาคือการตกค้างของของเสียในลำไส้ใหญ่ เมื่อมีการตกค้างนาน ๆ จะมีการดูดน้ำในอุจจาระกลับ อุจจาระจึงมีลักษณะแห้ง แข็ง และมีขนาดใหญ่ขึ้น ยิ่งอุจจาระอยู่ในลำไส้ใหญ่นานเท่าไหร่ ก็ยิ่งยากต่อการขับถ่ายออกมา ท้องผูกมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกคน และมักเป็นปัญหาชั่วคราว หายได้หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน แต่สำหรับบางคนอาการท้องผูกอาจเป็นปัญหาต่อเนื่อง น่ารำคาญใจ จนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในอนาคตได้ สาเหตุทั่วไปของอาการท้องผูก มีดังนี้
- การรับประทานอาหารที่มีกากใยต่ำ เช่น อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นม หรือชีส
- ดื่มน้ำไม่เพียงพอ (ขาดน้ำ)
- ออกกำลังกายไม่เพียงพอ
- การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดินทาง การกินอาหาร หรือ การทำงาน
- ปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวลต่าง ๆ
- ยาบางชนิด เช่น ยาลดกรด อาหารเสริมแคลเซียม ธาตุเหล็ก ยาแก้ปวด ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาระงับอาการทางจิต หรือยาแก้อาการชัก
- การตั้งครรภ์
- ความผิดปกติจากกล้ามเนื้อ เช่น โรคพาร์กินสัน เส้นประสาทไขสันหลังบาดเจ็บ หรือโรคหลอดเลือดในสมอง
- ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
อาการแบบไหนที่เรียกว่าท้องผูก
- อุจจาระเป็นก้อนแข็ง แห้ง หรือเป็นเม็ดเล็ก ๆ
- ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ถ่ายอุจจาระดำหรือเป็นเลือดอาเจียนดำหรือเป็นเลือด
- ถ่ายอุจจาระไม่สุด ถ่ายไม่ออก ถ่ายออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งหรือใช้มือช่วยล้วง
- ท้องเสียเรื้อรัง การอุจจาระบ่อย ๆ จะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
- น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
- รู้สึกท้องอืดหรืออึดอัด
ระวังการนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
อาการท้องผูกอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคริดสีดวงทวาร เกิดจากการโป่งพองออกของเส้นเลือดดำที่ทวารหนัก ที่มีเนื้อเยื่อบริเวณขอบทวารยื่นออกมา เพราะอุจจาระที่ครูดกับผิวหรือเยื่อเมือกของทวารหนัก จนเกิดเป็นแผลอาจส่งผลให้มีเลือดออกทางทวารหนักได้ โดยริดสีดวงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ “ริดสีดวงภายนอก”และ “ริดสีดวงภายใน” ตลอดจนการเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งลำไส้ใหญ่ การสังเกตร่างกายของตัวเองสำคัญมาก เมื่อพฤติกรรมของร่างกายต่างไปจากเดิม ให้รีบปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด แนะนำ 5 วิธีป้องกันโรคริดสีดวง
วิธีการรักษาและป้องกันอาการท้องผูก
เราสามารถจัดการกับอาการท้องผูกที่รู้สึกว่าเป็นเล็กน้อยถึงปานกลางได้ที่บ้าน การดูแลตนเองเริ่มต้นด้วยการเก็บข้อมูลจากสิ่งที่กิน การดื่มน้ำ และทำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้
- ดื่มน้ำ 1-2 ลิตร เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ
- ตรวจสอบการนั่งบนชักโครก การวางเท้าบนเก้าอี้และโน้มตัวมาข้างหน้า (ประมาณ 35 องศา) ทำให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ดีขึ้น
- ปรับเปลี่ยนอาหาร เพิ่มผลไม้ ผัก ธัญพืช ถั่ว ลูกพรุน และอาหารที่มีกากใยสูงอื่นๆ ในมื้ออาหาร กินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และชีส ให้น้อยลง
- สร้างกิจวัตรในการถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอและให้เป็นเวลา และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ขณะขับถ่าย
- หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาระบายที่จำหน่ายโดย ควรสอบถามเภสัชกรหรือแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือในการเลือก และอย่าใช้ยาระบายนานเกินสองสัปดาห์ การใช้ยาระบายมากเกินไป อาจทำให้อาการแย่ลงได้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่กลั้นอุจจาระโดยไม่จำเป็น ปวดเมื่อไหร่ควรรีบไปเข้าห้องน้ำ เพราะการกลั้นอุจจาระเป็นประจำ ทำให้เกิดการตกค้างของอุจจาระ จนเกิดปัญหาท้องผูกตามมาได้
เรื่องน่ารู้ ทำไมไฟเบอร์จึงดีต่อสุขภาพ ?
ท้องผูก กินอะไรดี แหล่งไฟเบอร์ที่ดีมีอะไรบ้าง?
อาหาร |
ไฟเบอร์ปานกลาง |
ไฟเบอร์สูง |
ผัก |
หัวผักกาด, มันฝรั่งพร้อมเปลือก, อะโวคาโด, บรอกโคลี, กะหล่ำปลี, แครอท, ข้าวโพด, ถั่วเขียว, ถั่วลันเตา, ผักโขม | |
ผลไม้ |
แอปเปิลที่มีเปลือก, อินทผาลัม, มะละกอ, มะม่วง, ส้ม, ลูกแพร์, กีวี, สตรอเบอร์รี่, ราสเบอร์รี่, แบล็กเบอร์รี่, ลูกเกด |
ลูกพรุนสุก, ลูกมะเดื่อแห้ง |
ธัญพืช |
รำลูกเกด, รำข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลีหั่นฝอย, ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต, กราโนล่า, มูสลี่ |
รำข้าวโพด, รำข้าวสาลี |
ขนมปัง |
ขนมปังโฮลวีต, ขนมปังกราโนล่า, มัฟฟินรำข้าวสาลี |
หากคุณกำลังประสบปัญหานี้ นี่คือ 8 ธัญพืชช่วยแก้ท้องผูก
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
- เมื่อเห็นเลือดในอุจจาระ
- น้ำหนักลดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ
- มีอาการปวดอย่างรุนแรงจากการเคลื่อนไหวของลำไส้
- ปวดท้องมากอึดอัดแน่นท้องคลื่นไส้อาเจียน
- อาการท้องผูกกินเวลานานกว่า 3 สัปดาห์
- ถ่ายเหลวและถ่ายเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ หรือปวดถ่ายอุจจาระในแบบที่ต้องถ่ายทันทีอย่างหาสาเหตุไม่ได้
อย่างไรก็ตาม หากอาการท้องผูกเรื้อรังยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม
อ้างอิง
- ท้องผูกเรื้อรังทำอย่างไรดี ? https://www.pobpad.com/ท้องผูกเรื้อรัง-ทำอย่าง
- ปัญหาท้องผูก ต้องแก้ให้ถูกวิธี. https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2019/constipation-treatment
- ท้องผูก…บอกเราเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่. https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ท้องผูก_มะเร็งลำไส้